วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชนเผ่าซุนดา ในเกาะชวา ประเทศอินโดเนเซีย ++

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ในเกาะชวานั้น นอกจากมีชนเผ่าชวาอาศัยอยู่เป็นจำนวนนับร้อยล้านคนแล้ว ยังมีอีกชนเผ่าหนึ่งที่มีประชากรนับสิบๆล้านคน นั้นคือชนชาวซุนดา ประชากรชาวซุนดามีประมาณ 33 ล้านคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดชวาตะวันตก และจังหวัดบันเตน
ชาวซุนดาไม่เหมือนชาวเผ่าอื่น ด้วยชนชาวซุนดาไม่มีตำนานความเป็นมาของชนเผ่าตนเอง เพียงตำนานแรกกล่าวว่าคนซุนดาส่วนใหญ่จะเป็นคนงานในสวนมากกว่าจะเป็นชาวนา

แผนที่ที่ตั้งถิ่นฐานของชาวซุนดา

รูปร่างชาวซุนดา

การแต่งกายชุดแต่งงานของชาวซุนดา

การรำที่เรียกว่า รำไยปง (Jaipong)ของชาวซุนดา

ระบบความเชื่อของชาวซุนดา
ชาวซุนดาส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม แต่ยังมีอีกจำนวนหนึ่ง แม้จะมีจำนวนไม่มากก็ตาม แต่น่าสนใจแนวความเชื่อของชาวซุนดาเหล่านี้ มีบันทึกอยู่ในบทกวีโบราณ หรือที่รู้จักในนามของ Wawacanและในบรรดาชนเผ่าบาดุย (Baduy) ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเชิงเขาซึ่งยังยึดถือความเชื่อที่เรียกว่า Sunda Wiwitan โดยพวกเขาเรียกว่าศาสนาซุนดา วีวิตัน ศาสนาซุนดา วีวิตันถือเป็นศาสนาดั้งเดิมที่ชาวซุนดานับถือ ต่อมาชาวซุนดานับถือศาสนา ฮินดู

ศาสนาซุนดา วีวิตัน Sunda Wiwitan
เป็นความเชื่อที่ยึดถือโดยชาวซุนดา ก่อนการเข้ามาของเจ้าอาณานิคม ปัจจุบันยังเป็นความเชื่อที่ยึดถือโดยชาวซุนดาวีวิตัน ตั้งอยู่ในอำเภอ Lebak จังหวัด Banten ส่วนใหญ่จะรู้จักชาวซุนดาวีวิตัน ว่าชาวบาดุย ซึ่งสันนิษฐานว่าแรกเริ่มเรียกโดยนักวิชาการชาวฮอลันดา เพื่อเปรียบเทียบกับชาวอาหรับบาดาวี (Arab Badawi) แต่บางข้อมูลกล่าว่า มาจากชื่อแม่น้ำที่ชื่อแม่น้ำบาดุย (Sungai Baduy) และภูเขาบาดุย(Gunung Baduy) ) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของพื้นที่ดังกล่าว สำหรับชาวบาดุยเองจะเรียกตนเองว่า ชาวกาเนเกส (Urang Kanekes)หรือ Orang Kanekes เป็นชื่อสถานที่พวกเขาอาศัยอยู่ที่ Desa Kanekes ตำบลLevwidamarอำเภอ Lebak Rangkas bitang จังหวัดBanten เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเทือกเขา Kendeng

ที่มา : http://nikrakib.blogspot.com/2010/01/bahasa-aceh.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น