วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน เยาวชนกับการป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติด

การจัดสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ
  มีความสำคัญต่อ       
        1. สุภาพร่างกาย ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การกำจัดสิ่งปฏิกูล ตลอดจนขจัดแห่งแพร่เชื้อโรค จะทำให้ลดอัตราการเกิดโรคภัยไข้เจ็บลงได้ ทำให้คนในชุมชนนั้นมสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงนอกจากนี้ยังช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ
        2. สุภาพจิต เมื่อสิ่งแวดล้อมดี ย่อมเป็นที่เจริญตาแก่ผู้พบเห็นทำให้เกิดความรักและหวงแหน ภาคภูมิใจในชุมชนนั้น
        3. สังคมและประเทศชาติ ประเทศชาติและสังคมจะเจริญได้ต่อเมื่อชุมชนในแต่ละแห่งมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ถ้าเราไม่ดูแลใหสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะเป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตได้ย่อมทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาและส่งผลกระทบถึงความเจริญของประเทศ
สาเหตุที่สภาพชุมชนไม่ถูกสุขลักษณะ
        ชุมชนจะถูกสุขลักษณะหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับบุคคล ในชุมชนที่จะมีความสามารถในการควบคุมดูแลและจัดสภาพในชุมชนให้ถูกสุขลักษณะและบุคคลในแต่ละชุมชนก็อาจจะเป็นผู้ที่ทำลายและเป็นผู้ที่สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ถูกสุขลักษณะได้มนุษย์พยายามที่จะทำสิ่งแวดล้อมให้สบายต่อตนเองมาตลอด ถ้าบุคคลในชุมชนมีการจัดหรือปรับปรุงสภาพแวดล้อมของตนเองโดยขาดการประสานร่วมมือกับบุคคลอื่นๆในชุมชนก็อาจมีผลกระทบต่อส่วนรวมได้ ซึ่งสาเหตุของการจัดสภาพแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะมีดังนี้
สาเหตุที่ทำให้ชุมชนในเมืองไม่ถูกสุขลักษณะ
        1.การเพิ่มของประชากร ชุมชนเมืองมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูง จึงมีประชากรจำนวนมากทำให้ไม่เกิดความสมดุลในความต้องการที่อยู่อาศัย อาหาร และบริการสาธารณูปโภค ทำให้ต้องอยู่กันอย่างแออัด เกิดการต่อสู้แข่งขันเพื่อการมีชีวิตรอดค่อนข้างสูง จนเกิดการละเลยการอนามัยทั้งส่วนบุคคลและชุมชน เพิ่มภาระให้แก่ชุมชนในการจัดบริการที่เพิ่มขึ้นเกินกำลัง
        2. การขาดความรู้ความเข้าใจ การไม่ตระหนักความสำคัญของสิ่งแวดล้อม เมื่อมีประชาชนมาก และหลายระดับบางกลุ่มขาดความรู้ความเข้าใจ บางกลุ่มเห็นประโยชน์ตนเอง มักง่าย ทิ้งขยะ ลงในแม่น้ำ ทางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำที่สาธารณะ ก่อให้เกิดความสกปรก การระบายน้ำไม่ดี เกิดการเน่าเหม็นเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต การใช้เทคโนโลยีขาดการควบคุมการใช้ให้ถูกทำให้เกิดผลกระทบเสียหาย
การขาดความรู้ความเข้าใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
        3. การควบคุมสิ่งแวดล้อมขาดประสิทธิภาพ ประชาชนบางกลุ่มขาดความรับผิดชอบแหล่งอุตสาหกรรม แหล่งบริการอาหารและการบันเทิงไม่มีระบบกำจัดของเสีย มีการปล่อยน้ำเสีย เศษอาหารลงแม่น้ำ โดยมิได้ผ่านระบบกำจัดน้ำเสีย หรือของเสียก่อน ทำให้เกิดน้ำเสียทั่วไป นอกจากนี้ การใช้เครื่องยนต์ รถยนต์ ที่มีเสียงดังและควันพิษ ทำให้อากาศเสียเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ระบบควบคุมสิ่งแวดล้อมจึงขาดประสิทธิภาพ จนเกิดอันตรายที่น่าจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การขาดการควบคุมของโรงงานที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง
        4. การขาดกำลังและการไม่ประสานงานการทำงานของเจ้าหน้าที่ กำลังเจ้าหน้าที่มีน้อย การตรวจตราควบคุมทำได้ไม่ทั่วถึง บางครั้งเกิดการขัดแย้งของเจ้าหน้าที่
เช่น ฝ่ายปราบปราม มีหน้าที่จับ ฝ่ายมีอำนาจปล่อย ผู้กระทำความผิดจึงมีมากขึ้นทั้งด้านปริมาณและวิธีการ ชุมชนจึงขาดระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
        5. การไม่เกรงกลัวกฎหมาย เกิดขึ้นได้ เนื่องจากสภาพบังคับของกฎหมายมีการลงโทษไม่หนักพอ จึงทำให้เกิดการฝ่าฝืนเพราะไม่เกรงกลัวโทษ อีกประการหนี่งเนื่องจากการมีอำนาจอิทธิพลของผู้กระทำผิดที่เชื่อว่าตนเองจะมิได้รับโทษ เพราะมีผู้ช่วยให้พ้นโทษ ซึ่งล้วนมาจากมูลเหตุของการเห็นแก่ตัว
และไร้คุณธรรม
สาเหตุที่ทำให้ชุมชนชนบทไม่ถูกสุขลักษณะ
        1. ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ เนื่องจาก มิได้มีการแนะนำให้รู้ถึงโทษที่จะเกิดขึ้น เช่น การทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำ ทำให้เกิดความสกปรกตื้นเขิน ระบายน้ำไม่สะดวก การตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำไร่เลื่อนลอย หรือตัดไม้ไปขาย เป็นผลทำให้พื้นดินแห้งแล้งและเมื่อถึงฤดูฝนไม่มีต้นไม้กั้นน้ำทำให้เกิดน้ำท่วม
ฉับพลันได้ การใช้ปุ๋ยเคมี สารฆ่าแมลง หรือสารเคมีเพื่อการเกษตรไม่ถูกวิธี เป็นอันตรายต่อชุมชน คือ เกิดภาวะดินเสีย น้ำเสีย อากาศเสีย ทำลายสิ่งแวดล้อมทาง
ชีวภาพ การใช้สารเคมีในการเกษตรควรมีการควบคุมที่ถูกต้อง
        2. ความหลงในชีวิตที่ทันสมัย อิทธิพลของการโฆษณาชวนเชื่อของพ่อค้า ในการขายสินค้าที่บรรยาย แต่สิ่งดีมีประโยชน์เพียงอย่างเดียว ประชาชนไม่ได้รับรู้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ที่ถูกต้อง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เมื่อประชาชนซื้อมาใช้จึงได้ผลไม่คุ้มค่า ไม่ประหยัด ที่พบคือ อาหารสำเร็จรูป มีคุณค่าทางอาหารน้อยกว่าอาหารที่ได้จากการปรุงเอง ยา เครื่องสำอาง สารเคมี บางครั้งเป็นอันตรายต่อ ผู้ใช้และผู้อื่น หรือทำให้อากาศเสีย ถ้วยชามเคลือบสี
ถุงพลาสติก ใส่อาหารร้อยเกิดโทษแก่ร่างกาย โฟมบรรจุอาหารเมื่อทิ้งเป็นขยะทำลายยาก เมื่อเผาจะทำให้อากาศเกิดมลพิษ และถ้าทิ้งในดินก็ไม่สลายตัว
        3. การสุขาภิบาลและการอนามัยไม่ดี ด้วยเหตุที่ประชาชนยากจน มีการศึกษาน้อย แม้จะได้รับการแนะนำให้เปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่ในทางที่ถูกต้อง แต่ก็ยังมีประชาชนไม่น้อยที่ต่อต้านไม่เชื่อจึงมักจะเกิดโรคติดต่อสุขภาพอนามัยไม่ดีเท่าที่ควร
        4. การขาดกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลช่วยเหลือประชาชน ชุมชนในชนบทบางแห่งรัฐยังให้การดูแลให้คำแนะนำการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพไม่ทั่วถึงจึงทำให้มีนายทุนชักชวนให้ประชาชนเป็นเครื่องมือของพวกเขา เกิดการทำลายทรัพยากร ให้เกิดความเสียหาย เกิดผลกระทบตามมา คือฝนแล้ง อากาศเปลี่ยนแปลง ขาดน้ำทำการเกษตร เกิดภาวะน้ำท่วมเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และทรัพย์สิน

 
ปัญหายาเสพติด

             การระบาดของยาเสพติดที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทยเราขณะนี้เป็นปัญหาที่ดูเหมือนว่า จะไม่มีทางแก้ไขได้สำเร็จ การปราบปรามอย่างรุนแรงทั้งด้วยปืนของตำรวจและด้วยปาก ของนักการเมือง ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดยั้งการแพร่กระจายของยาเสพติดที่แทรกแซง เข้าไปยัง ประชากรทุกหมู่เหล่า ทุกเพศทุกวัยได้เลย ปริมาณยาเสพติดที่ยึดได้หากนำมารวมกันทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน น่าจะนำไปใช้ ถมที่ดินเพื่อก่อสร้างสนามบินแห่งที่สอง เป็นการประหยัดทรายได้มิใช่น้อย
         ปัญหายาเสพติดมิใช่ปัญหาของบ้านเราเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของทุกประเทศในโลก ต่างกันแต่เพียงระดับความรุนแรงและประเภทของยาเสพติดเท่านั้น
การแก้ปัญหายาเสพติด จำเป็นต้องเข้าใจสาเหตุ และกลไกการเกิดปัญหา เพื่อที่จะได้ หาทางแก้ไขได้ครบวงจร มิใช่ไปเน้นที่จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น
ปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน มีความเกี่ยวข้องทั้งด้านชีววิทยา, สุขภาพจิต, อาชญากรรม, การเมือง, เศรษฐกิจและสังคม

1. ความต้องการฤทธิ์อันพึงประสงค์ของยาเสพติด
         สารใดก็ตามที่มีฤทธิ์แบบนี้ต่อผู้เสพ ย่อมทำให้เกิดการเสพติดได้ทั้งสิ้น คนที่ดื่มเหล้าก็ต้องการให้เกิดอารมณ์ครื้นเครง (euphoria) ยาเสพติดชนิดร้ายแรงสามารถทำให้เกิด ความรู้สึกเป็นสุข เคลิบเคลิ้มมากกว่าปกติ ที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า "high" หรือพวกติดยาเสพติดในบ้านเราเรียกว่า "พี้" ในบรรดาสารเสพติดทั้งหลาย เฮโรอีนเป็นสารที่ทำให้เกิดฤทธิ์แบบนี้มากที่สุด เพราะเป็นสารที่ร้ายแรงที่สุดในกลุ่มสารที่ทำจากฝิ่น ในทางการแพทย์มีที่ใช้บ้างคือ ใช้มอร์ฟีนเป็นยาแก้ปวด ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรง เช่น หลังผ่าตัดหรืออาการปวดจากมะเร็งในระยะท้าย ๆ
ประสบการณ์ของผู้ติดยาเสพติดทั้งหลายต่างยอมรับว่า เฮโรอีน ให้ผลอันพึงประสงค์ ต่อผู้เสพ ได้มากที่สุด โดยเฉพาะเฮโรอีนเกล็ดขาวบริสุทธิ์ที่มีขายในบ้านเรา แต่ในปัจจุบันนี้ ราคาสูงมาก จนทำให้ผู้เสพหันไปใช้สารอื่นที่มีราคาถูกกว่า เช่น สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งแอมเฟตามีนเป็นตัวที่ขายดีที่สุด สารพวกนี้มีฤทธิ์เสพติดน้อยกว่า และอาการถอนยาไม่รุนแรงเท่าเฮโรอีน แต่ทำให้เกิดอากุนแรงเท่าเฮโรอีน แต่ทำให้เกิดอากความต้องการฤทธิ์อันพึงประสงค์ของยาเสพติด ทำให้ผู้ติดยาทั้งหลายไขว่คว้าหามาเสพ ไม่ว่าจะต้องแลกด้วยอะไรก็ตาม และก็มิใช่ว่าจะไม่รู้โทษภัยของมัน แม้ว่าจะตั้งชื่อใหม่ว่า "ยาบ้า" หรือ "ยานรก" ก็ตามที เปรียบดังคนที่มัวเมาหลงใหลในกามรส เกิดอาการหน้ามืด จนไม่กลัวเอดส์ อย่างนั้น

2. บุคคลิกภาพของผู้ติดยาเสพติด
         พื้นฐานทางจิตใจของคนแต่ละคนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บางคนหันไปพึ่งพายาเสพติด ตัวอย่างในกลุ่มคนที่ดื่มสุรา บางคนดื่มเพียงเล็กน้อยโดยสามารถมีสติพอที่จะหยุดดื่ม หรือผ่อนลง เมื่อรู้ว่าควรหยุด ในขณะที่ผู้ติดสุราจะดื่มจนครองสติไม่ได้ และรู้สึกว่า ถ้าไม่ได้ดื่มถึงขีดนั้นก็อย่าดื่มเสียดีกว่า
ผู้ที่ติดยาเสพติดมักมีพื้นฐานทางจิตใจที่อ่อนแอ ขาดความมั่นคงในบุคคลิกภาพ มีความต้องการพึ่งพิงผู้อื่นสูง มีวุฒิภาวะต่ำ ขาดความรับผิดชอบ และพยายามเลี่ยงปัญหาที่ต้องเผชิญโดยการใช้ความมึนเมาเป็นข้ออ้าง บางคนมีอาการซึมเศร้าแล้วหันไปดื่มสุรา เมื่อรักษาอาการซึมเศร้าแล้วก็เลิกดื่มสุราได้ บางรายป่วยเป็นโรคจิตอยู่แล้ว และยังชอบใช้ยาเสพติดอีกต่างหาก เมื่อเกิดอาการทางจิตขึ้น ทำให้แยกยากว่าเกิดอาการจากสาเหตุใดแน่ สาเหตุของความบกพร่องทางจิตใจของผู้ติดยาเสพติด เกี่ยวข้องกับพื้นฐานครอบครัว และการเลี้ยงดูในวัยเด็ก เช่น มีครอบครัวที่แตกแยก, ขาดความรักความเข้าใจ, สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี มีชีวิตที่อ้างว้างว้าเหว่, ขาดที่พึ่งทางใจ หรือถูกกดดัน คาดหวังมากเกินไปจนไม่สามารถทนได้

3. พฤติกรรม การเลียนแบบ
         ปัจจัยนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ ค่านิยมของสังคมและวัฒนธรรม กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเลียนแบบคนอื่นได้ง่ายได้แก่เด็กและคนที่ขาดเอกลักษณ์ ของตนเอง หรือคนที่ไม่มีจุดยืนนั่นเอง
วัยรุ่น เป็นวัยที่มีการเลียนแบบเพื่อนได้ง่าย และกลัวว่าตนเองจะแปลกแยกจากกลุ่มเพื่อน จึงมักทำอะไรตามเพื่อนและอาจถูกชักจูงง่าย ประกอบกับเป็นวัยที่มักมีความว้าวุ่น สับสน ทางจิตใจได้มาก จึงพบว่ายาเสพติดแพร่หลายไปได้ง่ายในหมู่วัยรุ่น สังคมไทยเป็นสังคมที่นิยมเลียนแบบคนอื่นมากกว่าจะคิดเป็นตัวของตัวเอง เห็นเขาทำอะไร ก็จะทำตามเขาบ้าง ดังคำพังเพยที่รู้จักกันมานานว่า "เห็นช้างขี้ ก็ขี้ตามช้าง" เห็นฝรั่งใส่ชุดยีนก็ใส่ตามเขาทั้งทีอากาศร้อนแทบตายอยู่แล้ว เห็นเขาดื่มไวน์ก็อยากดื่มตามเขา โดยไม่รู้ว่าเหมาะหรือควรแค่ไหน เวลาไปต่างประเทศจะมีคนส่วนหนึ่งขนเงินไปซื้อนาฬิการาคาแพง, กางเกงยีนบางยี่ห้อ, กระเป๋าบางยี่ห้อ ฯลฯ โดยที่ไม่รู้สรรพคุณด้วยซ้ำว่าสิ่งเหล่านั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ขอให้ได้ทำตามเขาแล้วก็สบายใจ เราจึงพบว่าคนที่ใช้ยาเพสติดส่วนหนึ่งเริ่มต้นจากการเลียนแบบ เช่น เริ่มสูบบุหรี่ เพราะเห็นเจมส์บอนด์สูบแล้วโก้ดี หรือเห็นคนรวยเขาดื่มไวน์ขวดละแสนก็เริ่มดื่มตามเขา จะได้รู้สึกว่ามีความเป็น รัฐมนตรีหรือความเป็นเศรษฐีเกิดขึ้นในตัว บางคนอุตส่าห์เสาะแสวงหาโคเคนหรือยาเสพติดชนิดอื่นที่มีราคาแพง เนื่องจากนำเข้า จากต่างประเทศ เพราะรู้สึกว่าเป็นของสูงหายาก ใช้แล้วจะเป็นคนต่างระดับกับชาวบ้าน ทั่วไป ความจริงแล้วฤทธิ์ของมันสู้ของที่มีอยู่แล้วในบ้านเราไม่ได้เลย

4. ความยากง่ายของการหายาเสพติด
         ที่ใดมียาเสพติดซื้อหาง่ายราคาถูก ที่นั่นย่อมมีการระบาดได้ง่าย ประเทศใดมีแหล่งผลิต และขบวนการค้ายาเสพติดที่เป็นล่ำเป็นสัน ประเทศนั้นก็มีปัญหายาเสพติดมาก
จากสถิติปรากฏว่าการขึ้นราคาบุหรี่แต่ละครั้งทำให้มีผู้สูบบุหรี่ลดลงทุกครั้ง เวลานี้คนติดเฮโรอีนก็ลดลงไปมาก เพราะสู้ราคาไม่ไหว แต่ยาบ้าซึ่งเคยมีราคาเม็ดละบาทสองบาท ตอนนี้ขายกันเม็ดละร้อยกว่าบาท คนเสพก็ยังมีกำลังซื้ออยู่ การที่มีผู้ผลิตหลายราย ทำให้ราคายังไม่ขึ้นไปกว่านี้ ถ้าเมื่อใดราคาสูงขึ้นจนคนเสพสู้ราคาไม่ไหว ก็จะหันไปใช้สารอื่นที่ราคาถูกกว่าต่อไปปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบกัน ทำให้การระบาดของยาเสพติดเป็นปัญหาที่ ทุกประเทศ ในโลก ต้องเผชิญ และไม่มีทีท่าว่าจะหมดไป ไม่ว่าประเทศเหล่านั้นจะมีเทคโนโลยี ก้าวหน้าเพียงใดก็ตาม
การแก้ปัญหายาเสพติดต้องแก้ทุกสาเหตุไปพร้อม ๆ กัน การส่งเสริมสุขภาพจิตครอบครัว ช่วยให้เด็กมีสุขภาพจิตดี มีพื้นฐานทางจิตใจที่มั่นคงและสามารถปฏิเสธยาเสพติดได้ ไม่ยอมให้ใครมาชักจูงได้โดยง่าย แต่ก็เป็นปัจจัยที่แก้ได้ยาก เพราะเราไม่มี ความสามารถ ไปควบคุมการเกิดของประชากรหรือไปบังคับคนที่มีแนวโน้มจะก่อปัญหา ไม่ให้มีลูกได้ เนื่องจากเป็นสิทธิมนุษยชน การมีกฎหมายที่เด็ดขาดและมีการบังคับใช้อย่างจริงจัง โดยไม่มีบุคคลทีมีอำนาจ ที่แสวงหาประโยชน์จากการค้ายาเสพติด น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ได้ผล ดังจะเห็นได้จากประเทศเพื่อนบ้านของเราบางประเทศ ซึ่งคนในประเทศของเขา ยอมเสียเสรีภาพส่วนบุคคลบางอย่าง เพื่อแลกกับความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม
อย่างไร ก็ตาม ถึงแม้ว่าจะใช้มาตรการทุกอย่างแล้วก็มิใช่ว่าจะทำให้ปัญหายาเสพติด หมดไปจากโลกได้ เพราะถึงอย่างไรคนก็ยังต้องการฤทธิ์บางอย่างของยาเสพติด ถ้าหากเคยได้ลิ้มลองแล้วก็มักไม่ยอมเลิกง่าย ๆ คล้ายกับสุนัขที่เคยได้ลิ้มรสอาจม แล้วอย่างนั้นแหละอีกประการหนึ่งเป็นธรรมชาติของโลกนี้ที่สัตว์เล็กย่อมเป็น อาหารของสัตว์ใหญ่ คนบางคนเกิดมาก็เพื่อเป็นเหยื่อของคนอื่นอยู่ร่ำไป จนกว่าจะเกิดการเรียนรู้ หรือฉลาดขึ้นมาเอง 

เยาวชนกับการป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติด
 
 ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น             
ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน -ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้           
ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา          
จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน  ใช้บ่อยๆ  ทำให้เกิดการเสพติด  ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย
           
๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา
๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองเสพยาเสพติด           
๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง  ครอบครัว และสังคม
๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อม ไปสู่ชีวิตของตนเอง
๕.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล
๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม จะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต          
๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น แนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น       
๘. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็น สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง
การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวของตนเอง  
๑. ช่วย พ่อ แม่ สอดส่องดูแลน้องๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวมิให้กระทำสิ่งที่ผิด เช่น การคบเพื่อนที่ไม่ดี  การมั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ สมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวด้วย เช่น   การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร           
๒. ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกัน  ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา          
๓. เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะน้องๆให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของ ยาเสพติดวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย
๔. ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่การงาน  ของพ่อ แม่ ภายในบ้าน




วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชนเผ่าซุนดา ในเกาะชวา ประเทศอินโดเนเซีย ++

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ในเกาะชวานั้น นอกจากมีชนเผ่าชวาอาศัยอยู่เป็นจำนวนนับร้อยล้านคนแล้ว ยังมีอีกชนเผ่าหนึ่งที่มีประชากรนับสิบๆล้านคน นั้นคือชนชาวซุนดา ประชากรชาวซุนดามีประมาณ 33 ล้านคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดชวาตะวันตก และจังหวัดบันเตน
ชาวซุนดาไม่เหมือนชาวเผ่าอื่น ด้วยชนชาวซุนดาไม่มีตำนานความเป็นมาของชนเผ่าตนเอง เพียงตำนานแรกกล่าวว่าคนซุนดาส่วนใหญ่จะเป็นคนงานในสวนมากกว่าจะเป็นชาวนา

แผนที่ที่ตั้งถิ่นฐานของชาวซุนดา

รูปร่างชาวซุนดา

การแต่งกายชุดแต่งงานของชาวซุนดา

การรำที่เรียกว่า รำไยปง (Jaipong)ของชาวซุนดา

ระบบความเชื่อของชาวซุนดา
ชาวซุนดาส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม แต่ยังมีอีกจำนวนหนึ่ง แม้จะมีจำนวนไม่มากก็ตาม แต่น่าสนใจแนวความเชื่อของชาวซุนดาเหล่านี้ มีบันทึกอยู่ในบทกวีโบราณ หรือที่รู้จักในนามของ Wawacanและในบรรดาชนเผ่าบาดุย (Baduy) ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเชิงเขาซึ่งยังยึดถือความเชื่อที่เรียกว่า Sunda Wiwitan โดยพวกเขาเรียกว่าศาสนาซุนดา วีวิตัน ศาสนาซุนดา วีวิตันถือเป็นศาสนาดั้งเดิมที่ชาวซุนดานับถือ ต่อมาชาวซุนดานับถือศาสนา ฮินดู

ศาสนาซุนดา วีวิตัน Sunda Wiwitan
เป็นความเชื่อที่ยึดถือโดยชาวซุนดา ก่อนการเข้ามาของเจ้าอาณานิคม ปัจจุบันยังเป็นความเชื่อที่ยึดถือโดยชาวซุนดาวีวิตัน ตั้งอยู่ในอำเภอ Lebak จังหวัด Banten ส่วนใหญ่จะรู้จักชาวซุนดาวีวิตัน ว่าชาวบาดุย ซึ่งสันนิษฐานว่าแรกเริ่มเรียกโดยนักวิชาการชาวฮอลันดา เพื่อเปรียบเทียบกับชาวอาหรับบาดาวี (Arab Badawi) แต่บางข้อมูลกล่าว่า มาจากชื่อแม่น้ำที่ชื่อแม่น้ำบาดุย (Sungai Baduy) และภูเขาบาดุย(Gunung Baduy) ) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของพื้นที่ดังกล่าว สำหรับชาวบาดุยเองจะเรียกตนเองว่า ชาวกาเนเกส (Urang Kanekes)หรือ Orang Kanekes เป็นชื่อสถานที่พวกเขาอาศัยอยู่ที่ Desa Kanekes ตำบลLevwidamarอำเภอ Lebak Rangkas bitang จังหวัดBanten เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเทือกเขา Kendeng

ที่มา : http://nikrakib.blogspot.com/2010/01/bahasa-aceh.html

ชนเผ่ามอแกน

ชนเผ่ามอแกน

เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเกาะในบริเวณภาคใต้ของไทย มีรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ รวมทั้งค่านิยมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นของตนเอง ใช้ชีวิตเดินทางเคลื่อนย้ายถิ่น ทำมาหากินอยู่ในบริเวณเขตทะเลอันดามัน ชีวิตส่วนใหญ่ของชาวมอแกนอาศัยอยู่บนเรือที่พวกเขาเรียกว่า “ กำบาง ” หากินกับทะเล งมหอย ตกปลา จับปูและสัตว์ทะเลต่าง ๆ อาหารหลัก คือเผือกมัน มีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับฤดูกาลจากอิทธิพลของลมมรสุมในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ (เดือนพฤษภาคม-เดือนพฤศจิกายน) ซึ่งมีคลื่นลมจัด ชาวมอแกนจะอพยพขึ้นมาสร้างบ้านเรือนตามเกาะหรือบริเวณชายหาดที่มีอ่าวกำบังคลื่นลมเพื่อหลบลมพายุ



ชาวมอแกนยังคงหากินกับทะเลเหมือนเช่นบรรพบุรุษ และเนื่องจากชาวมอแกนเป็นคนกลุ่มน้อย เป็นคนไม่มีสัญชาติ และไม่มีเชื้อชาติ ชาวมอแกนไม่มีความรู้ ไม่ได้รับการศึกษาทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชาวมอแกนยังคงเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อยของประเทศไทย และเพื่อให้ชาวมอแกนมีความรู้ สามารถติดต่อสื่อสารกับคนไทยได้ อย่างถูกต้องและเข้าใจชาวมอแกนมีพิธีประจำปี คือ การฉลองเสาวิญญาณบรรพบุรุษ (เหนียะเอนหล่อโบง) มอแกนจะมารวมกันเพื่อบวงสรวงบูชาวิญญาณให้ปกป้องคุ้มครองพวกตน ในระหว่านั้นมอแกนจะหยุดพักการทำมาหากิน ในพิธีกรรม จะประกอบด้วยการเข้าทรงเสี่ยงทาย การเล่นดนตรี ร้องรำ ทำเพลง และมีการลอยกำบางจำลอง ถือว่าเป็นการลอยความทุกข์และโรคภัยไข้เจ็บให้พ้นจากครอบครัว จากชุมชน นอกจากนี้ มอแกนยังมีความเชื่อดั้งเดิมซึ่งเน้นวิญญาณนิยม เชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งรวมทั้งผีบรรพบุรุษและผีต่างๆ ในธรรมชาติ มีอำนาจในการให้เกิดผลร้ายผลดี ปกป้องคุ้มครองหรือทำให้เจ็บป่วยได้ ดังนั้นจึงต้องแก้ไขการเยียวยาด้วยการเข้าทรง และเซ่นไหว้ด้วยวิธีการต่าง ๆ มอแกนจะใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคด้วยในด้านของสังคมการครองเรือน ชายหญิงมอแกนมักจะแต่งงานอยู่กินตั้งแต่อายุยังน้อย ยึดประเพณีผัวเดียวเมียเดียว จะไม่เปลี่ยนคู่ครองนอกจากสามีหรืออภรรยาเสียชีวิตลง หรือมีปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจึงแยกจากกัน ลูก ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญในครอบครัว มอแกนแต่ละครอบครัวจะมีลูกประมาณ 2-5 คน เนื่องจากความห่างไกลจากการบริการพื้นฐานสาธารณสุขทำให้จำนวนประชากรมอแกนค่อนข้างจะคงที่



ชื่อมอแกนเป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า “ละมอ” และ “แกน” ซึ่งเป็นชื่อของน้องสาวของราชินีในตำนานเก่าแก่ของมอแกน น้องสาวคนนี้ไปแย่งคนรักของพี่สาว จึงถูกสาปแช่งให้ตนเองและพรรคพวกต้องมีชีวิตเร่ร่อน

มอแกน เป็นชาวเลกลุ่มหนึ่ง ที่รู้จักกันในนามยิปซีทะเล สืบเชื้อสายมาจากโปโตมาเลซึ่งร่อนเร่อยู่ในทะเลอันดามัน มากว่า 100 ปี อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะ และชายฝั่งทะเลตั้งแต่หมู่เกาะมะริดในเมียร์ม่า ลงไปทางใต้และทางตะวันออกในหมู่เกาะของทะเลซูลู ในประเทศฟิลิปินส์ รวมถึงชายฝั่งของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซียด้วย ในหมู่เกาะมะริดในเมียนมาร์ยังมีประชากรมอแกนอีกนับพัน พม่าเรียกมอแกนว่า ซลัง เซลัง หรือ ซาเลา (Selon) สันนิษฐานว่าคำนี้คงจะมาจากคำว่าฉลางหรือถลาง ซึ่งเป็นชื่อโบราณของภูเก็ต (Junk Selon) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชาวเลมาชุมนุมกันอยู่มากในสมัยก่อนอยู่ในทะเล ซึ่งเป็นตำนานเรื่องเล่าของชาวมอแกน





นักมานุษยวิทยา Jacques Ivanoff สันนิษฐานว่าชื่อมอแกนเป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า “ ละมอ ” ( ภาษามอแกน แปลว่า จม) และ “ แกน ” ซึ่งเป็นชื่อของน้องสาวของราชินีในตำนานเก่าแก่ของมอแกน คือว่าตำนานนี้ค่อนข้างยาว แต่สรุปได้ว่าน้องสาวคนนี้ไปแย่งคนรักของพี่สาว จึงถูกสาปแช่งให้ตนเองและพรรคพวกต้องมีชีวิตเร่ร่อนอยู่ในทะเล ถ้าอยากรู้รายละเอียด (อ่านเพิ่มเติมจากหนังสือประมวลตำนานมอแกน ชื่อ Rings of Coral )

มอแกน เป็นชาวเลกลุ่มหนึ่ง สืบเชื้อสายมาจากโปโตมาเลซึ่งร่อนเร่อยู่ในทะเลอันดามัน มากว่า 100 ปี อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะ และชายฝั่งทะเลตั้งแต่หมู่เกาะมะริดในเมียร์ม่า ลงไปทางใต้และทางตะวันออกในหมู่เกาะของทะเลซูลู ในประเทศฟิลิปินส์ รวมถึงชายฝั่งของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซียด้วย ในหมู่เกาะมะริดในเมียนมาร์ยังมีประชากรมอแกนอีกนับพัน พม่าเรียกมอแกนว่า ซลัง เซลัง หรือ ซาเลา (Selon) สันนิษฐานว่าคำนี้คงจะมาจากคำว่าฉลางหรือถลาง ซึ่งเป็นชื่อโบราณของภูเก็ต (Junk Selon) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชาวเลมาชุมนุมกันอยู่มากในสมัยก่อน มอแกนนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และวิญญาณต่างๆ ในธรรมชาติ รวมทั้งวิญญาณบรรพบุรุษที่มี “หล่อโบง” หรือเสาวิญญาณบรรพบุรุษ ทั้งชาย (แอบ๊าบ) และหญิง (เอบูม) เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งมอแกนมีพิธีฉลองที่สำคัญประจำปีคือพิธี “เหนียะเอ็นหล่อโบง” หรือการฉลองเสาวิญญาณบรรพบุรุษ ซึ่งบางทีในพิธีนี้ก็มีการลอยเรือสะเดาะเคราะห์คล้ายๆ กับ อูรักลาโว้ยที่ภูเก็ต ลันตา หรือลิเป๊ะ ในขณะที่อูรักลาโว้ยเรียกเรือสะเดาะเคราะห์ว่า “ปลาจั๊ก” ชาวเลมอแกนเรียกเรือนี้ว่า “หล่าจัง” การลอยเรือมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน คือเพื่อนำเอาเคราะห์ร้าย โรคภัยไข้เจ็บ ความทุกข์โศกต่างๆ ออกไปจากชุมชน ส่วนพิธีฉลองเสาวิญญาณบรรพบุรุษของมอแกนนั้น จัดขึ้นในวันข้างขึ้น เดือนห้าทางจันทรคติ มอแกนจะไม่ออกไปทำมาหากินเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ในช่วงนั้น จะมีงานฉลอง ที่มีการดื่มกิน การเล่นดนตรีร่ายรำ การเข้าทรงทำนายโชคชะตาของหมู่บ้าน และมีญาติพี่น้องจากเกาะต่างๆ มาพบปะสังสรรค์กัน

อพยพเข้ามาเมืองไทยเมื่อไร

การอพยพเข้ามาประเทศไทยของชาวมอแกนไม่เป็นที่แน่ชัด เพราะการเข้ามีหลายกลุ่มและหลายช่วงเวลา จนกระทั้งปัจจุบันก็ยังมีการอพยพอยู่ อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ

มอแกนอาศัยอยู่ที่หมู่เกาะมะริดในเมียนมาร์ยังมีประชากรมอแกนอีกนับพัน พม่าเรียกมอแกนว่า ซลัง เซลัง หรือ ซาเลา ( Selon) สันนิษฐานว่าคำนี้คงจะมาจากคำว่าฉลางหรือถลาง ซึ่งเป็นชื่อโบราณของภูเก็ต ( Junk Selon) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชาวเลมาชุมนุมกันอยู่มากในสมัยก่อน


วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ไทยเชื้อสายมลายู


ชาวไทยเชื้อสายมลายู หมายถึงชาวไทยซึ่งมีเชื้อสายมลายู (มาเลย์) มีกระจายทั่วไปในทางภาคใต้ของประเทศไทย ประชากรใช้ภาษาตระกูลมาลาโย-โพลินีเชียน และส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และมีประชากร ร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด กระจายตัวหนาแน่นมากที่สุดทางภาคใต้ตอนล่าง ในภาคใต้ส่วนอื่นๆก็มีชาวไทยเชื้อสายมลายูกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนภาคกลางเองก็มีมากในกรุงเทพฯ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี เลยไปถึงจังหวัดฉะเชิงเทราในตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยวด้วย

ชาวมลายูในไทย

ชาวมลายูปัตตานี เป็นกลุ่มชนขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่จำนวนมากในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นประชากรส่วนใหญ่ตั้งแต่จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา รวมไปถึงบางส่วนของจังหวัดสงขลา มีประชากร 3,359,000 คน หรือร้อยละ 3 ของประชากรทั้งประเทศ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับกลุ่มชาวมาเลย์ทั่วไป ชาวมลายูปัตตานีเรียกตนเองว่า ออแฆฮนายู (Orang Melayu) ซึ่งมีความหมายว่า คนมลายู และบางที่ก็เติมคำข้างหน้าด้วยเป็น กีตอออแฆฮนายู (Kita Orang Melayu) ซึ่งแปลว่า พวกเราคือมลายู และจะเรียกชาวมาเลเซียว่าออแฆฮมาเล (Orang Malay) เพราะพวกเขาแยกแยะ และมีจิตสำนึกได้ดีว่าเขาไม่ใช่คนมาเลเซีย และเรียกคนไทยว่า ออแฆฮซิแย (Orang Siam) ส่วนชาวมลายูปัตตานีที่ถูกกวาดต้อนไปอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จะถูกเรียกว่า ออแฆฮนายูบาเกาะ (Orang Melayu Bangkok) ถือว่าเป็นชาวมลายู แต่ถูกกวาดต้อนไปกรุงเทพ และไม่ใช่ชาวออแฆฮนายูอย่างเขา ชาวไทยเชื้อสายมลายูในกรุงเทพนั้นอาศัยอยู่กระจายตัวตั้งแต่สี่แยกบ้านแขก ในฝั่งธนบุรีเลยไปถึงเขตหนองจอก แต่คำคำนี้ยังรวมไปถึงคนมลายูรอบๆปริมณฑลด้วย อย่างที่จังหวัดปทุมธานี และนนทบุรี โดยที่จังหวัดปทุมธานีจะพบคนกลุ่มนี้ในเขตคลองประชาเก่ง คลองบางโพธิ์เหนือ และคลองหนึ่ง สถานที่ตั้งถิ่นฐานมีสุเหร่าเป็นแห่งแรกที่บ้านสวนพริกไทย ส่วนในนนทบุรีมีชนกลุ่มนี้ที่สามารถพูดภาษามลายูได้ที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ดที่ถูกกวาดต้อนมาจากจังหวัดปัตตานีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นเวลากว่า 200 ปีมาแล้ว ในอยุธยาเองก็มีชุมชนชาวไทยเชื้อสายมลายูอยู่ที่คลองตะเคียนใต้เกาะอยุธยา ซึ่งเข้ามาอาศัยนานแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา

ภาษา

ชาวมลายูในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่ยังใช้ภาษามลายูปัตตานี ซึ่งเป็นภาษามลายูท้องถิ่น และมีคนพูดกันมาก และหลายคนสามารถพูดภาษามาเลย์กลางได้ นอกจากนี้ยังเขียนด้วยอักษรยาวี ที่ดัดแปลงจากอักษรอาหรับและมีใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงการใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองด้วย โดยพ่อแม่ในท้องถิ่นนี้จะสอนลูกหลานพูดภาษาแม่ของตนคือภาษามลายู (Bahasa Melayu) ในชีวิตประจำวัน ต่อเมื่อเด็กๆ เข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาแล้วจึงจะได้เรียนรู้ที่จะพูดหรืออ่านภาษาไทยในฐานะภาษาที่ 2[1]

ส่วนชาวไทยเชื้อสายมลายูที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลนั้น จะมีคนอายุเกินกว่า 40 ปีเท่านั้นที่ยังพอพูดภาษามลายูได้ แต่ต่างจากภาษามลายูที่ใช้ในภาคใต้อยู่บ้าง เรียกว่าภาษามลายูบางกอก และส่วนใหญ่หันมาใช้ภาษาไทยกลาง ประชากลุ่มนี้ มีอยู่ประมาณ 5,000 คน แต่ความสามารถในการใช้ภาษาแตกต่างกันออกไป มีการใช้ภาษามลายูถิ่นสตูล ซึ่งใกล้เคียงกับภาษามลายูเกดะห์ประมาณ 6,800 คน ในจังหวัดสตูลและจังหวัดใกล้เคียง และยังมีชุมชนเชื้อสายมลายูกระจายอยู่ทั่วไปในภาคใต้ อย่างที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดระนอง จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดชุมพร ฯลฯ

วัฒนธรรม

ความเป็นมลายู นั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญได้แก่ ภาษามลายู ศาสนาอิสลาม และวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่พูดภาษามลายูได้ เลือกวิถีวัฒนธรรมมลายู โดยเฉพาะต้องนับถือศาสนาอิสลามถือว่าเป็นชาวมลายู ถ้าสักแต่พูดภาษามลายู มีชีวิตในวิถีวัฒนธรรมมลายู แต่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ก็ไม่ถือว่าเป็นมลายู

อย่างไรก็ตามศาสนาอิสลามจะเกาะเกี่ยวกับความเป็นมลายูตลอด เมื่อใครเข้ารับศาสนาอิสลามหรือเข้าอิสลามก็จะเรียกว่าเข้ามลายู (มาโซ๊ะ มลายู หรือมะโซ๊ะยาวี) หรือ เป็นมลายูซึ่งประเด็นนี้น่าสนใจเพราะเขาจะเรียกว่า"เข้าไทย"(มาโซ๊ะ ซีแย) เมื่อมีใครเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกันชีวิตวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษามลายูก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถึงกับมีคำกล่าวว่า “ฮีลัง บาฮาซา ฮีลัง บังซา” แปลเป็นไทยได้ว่า “ถ้าภาษา (มลายู) หาย ชาติ (หรือความเป็นมลายู) ก็จะหายด้วย” ดังนั้นเขาจึงต้องต่อสู้เพื่อปกป้องชาติหรือความเป็นมลายูของตัวเองไม่ให้สูญสลายหายไป รวมทั้งพยายามยืนหยัดที่จะใช้ภาษามลายูสืบไป

ชาวไทยเชื้อสายมลายูหลายคน ยังแต่งกายแบบมลายูให้เห็นอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคใต้ ผู้ชายยังแต่งกายด้วยการนุ่งโสร่ง ผู้หญิงนุ่งผ้าปาเต๊ะ โพกศีรษะเหมือนชาวมุสลิมในประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันวัฒนธรรมการแต่งกายของมาเลเซียก็เข้ามา ทำให้ชาวมลายูแต่งตัวให้ทันสมัยมากขึ้น แต่ยังคงอัตลักษณ์ความเป็นมลายู และอิสลามอยู่อย่างมั่นคง

ศาสนา

ชาวไทยเชื้อสายมลายู เป็นชาวมุสลิมที่เคร่งครัดในศาสนา และมีการทำนมาซ และ กระทำกันในมัสยิด หรือสุเหร่า และมีการแสวงบุญไปยังนครมักกะห์ และมีการถือศีลอด และหลังจากการถือศีลอดนั้นก็จะมีเทศกาลฮารีรายอ การแต่งงาน (มาแกปูโล๊ะ) การเข้าสุหนัต (มะโซ๊ะยาวี) เพื่อแสดงว่าตนเป็นชาวมุสลิม ชาวมุสลิมทุกคนจะให้ความศรัทธาแก่องค์อัลเลาะห์ พระเจ้าองค์เดียวแห่งศาสนาอิสลาม แต่ยังมีชาวไทยเชื้อสายมลายูจำนวนไม่น้อยที่นับถือศาสนาพุทธแบบเดียวกับคนไทย โดยสืบเชื้อสายมาจากชาวมลายู แต่ส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะถือตัวเป็นคนไทยเพราะว่านับถือศาสนาพุทธ

ไฟล์:ประเพณีแห่นก.jpg

ประเพณีการแห่นก เป็นผสมผสานศิลปะระหว่าง ชวา อินเดีย และไทย เป็นการแสดงการคารวะหรือจงรักภักดีแก่ผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือมาเยือน ปัจจุบันหาดูยาก เนื่องจากขัดหลักศาสนาอิสลาม

ไฟล์:ShowMakyonginRama5.jpg

ภาพการแสดงมะโย่งของชาวอำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



credit : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B9

ซาไก

ซาไก
                ซาไก (มาเลย์ : Orang Asli ; โอรังอัสลี) เป็นมนุษย์โบราณอาจจะที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ประมาณ 1,50010,000 ปีมาแล้ว รูปร่างเตี้ยมีผิวดำ ฝีปากหนา ท้องป่อง น่องสั้นเรียว ผมหยิกเป็นก้นหอยติดศีรษะ ชาติพันธุ์นิกรอยด์ หรือเนกริโต ตระกูลออสโตร-เอเชียติก อยู่กระจายกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ราว 7-60 คน ในรัฐเกดะห์ มาเลเซีย ในส่วนลึกของนิวกินี ฟิลิปปินส์และหมู่เกาะอันดามัน เรียกตนเองว่า มันนิ” (Mani) ส่วนผู้อื่นเรียกว่า เงาะ เงาะป่า ชาวป่า ซาแก หรือ โอรัง อัสลี (Orang Asli) หรือ กอย

สำหรับในภาคใต้ของประเทศไทยมีซาไกอยู่สี่กลุ่มรวมประมาณ 200 คน คือ
  1. ซาไกกันซิว อยู่ในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา
  2. ซาไกยะฮาย อยู่ในอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
  3. ซาไกแตะเดะหรือเยแด อยู่ บริเวณภูเขาสันกาลาคีรีแถบจังหวัดยะลาและอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
  4. ซาไกแต็นเอ็น อยู่บริเวณเขาบรรทัดแถบคลองตง คลองหินแดง บ้านเจ้าพะและถ้ำเขาเขียด อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง(ประมาณ 100 คน) จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสตูล

        ปัจจุบัน ซาไกที่อาศัยอยู่ที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ได้รับพระราชทานนามสกุลจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยใช้ชื่อสกุลว่า "ศรีธารโต"

การดำรงชีวิต

        กลุ่มชนชาวซาไกกินเผือกมัน กล้วยป่า มะละกอ และสัตว์ป่า จับสัตว์น้ำด้วยมือเปล่าหรือเบ็ด พืชผักผลไม้

วัฒนธรรมสมัยนิยม
  •  เงาะป่า บทพระราชนิพนธ์ร้อยกรองในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2448
  • เงาะป่า ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2523 ดัดแปลงมาจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ภาพยนตร์เรื่อง ซาไกยูไนเต็ด (พ.ศ. 2547) เป็นเรื่องราวของชาวซาไกเข้าแข่งขันและชนะเลิศฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน

ภาษาซาไก

        ภาษาซาไก (Kensiu) หรือภาษาเกนซีอู ภาษาโอรัง บูกิต ภาษาโมนิก ภาษาเมนดี มีผู้พูดทั้งหมด 3,300 คน พบในมาเลเซีย 3,000 คน (พ.ศ. 2527) ในบริเวณตอนเหนือของรัฐเกดะห์ใกล้กับชายแดนไทย พบในไทย 300 คน ทางใต้ของจังหวัดยะลา พัทลุง สตูล นราธิวาส ตามแนวชายแดนมาเลเซีย จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขาอัสเลียน สาขาย่อยอัสเลียนเหนือ
        มีคำยืมจากภาษามลายูปะปนอยู่มากเช่น ปะยง (พระจันทร์, ภาษามลายูหมายถึงร่ม) ตาโก๊ะ (เสือ, ภาษามลายูหมายถึงกลัว) ชาวซาไกที่ติดต่อกับคนไทยรับคำยืมจากภาษาไทยด้วยเช่นเดียวกัน ภาษาซาไกมีเสียงนาสิกแต่ไม่มีเสียงควบกล้ำและเสียงวรรณยุกต์ เป็นภาษาคำโดด มีลักษณะของภาษาคำติดต่ออยู่บ้างแต่ไม่มากนัก

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กลุ่มชาติพันธุ์

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 23
ชาติพันธุ์ โดย นางอมรา พงศาพิชญ์ 

          การศึกษาเรื่องชาติพันธุ์ในประเทศไทยเริ่มได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้ แต่ในต่างประเทศเรื่องนี้ได้รับความสนใจมานานแล้วส่วนใหญ่ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องชาติพันธุ์มักจะเป็นนักมานุษยวิทยา นักสังคมวิทยา และนักรัฐศาสตร์ โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่า นักมานุษยวิทยาให้ความสนใจเรื่องของลักษณะวัฒนธรรม และสภาพทางสังคมของกลุ่มคนที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีต่างกันออกไป และเน้นที่การพยายามเข้าใจคนแต่ละกลุ่มจากทุกแง่มุมเนื่องจากนักมานุษยวิทยาให้ความสำคัญต่อชาติพันธุ์เพื่อความรู้ในเรื่องมานุษยชาติ จึงทำให้นักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่เลือกศึกษากลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นชนกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศ ส่วนความสนใจของนักสังคมวิทยาอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มในประเทศที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มได้รับความสนใจในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม และรวมความสัมพันธ์ที่เข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ ส่วนนักรัฐศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาเรื่องชาติพันธุ์จากแง่มุมของการเมือง ซึ่งรวมถึงความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม และจากแง่มุมของความมั่นคงของรัฐ

ความหมายของชาติพันธุ์ 
          คำว่า "ชาติพันธุ์" และ "ชาติพันธุ์วิทยา" เป็นคำใหม่ในภาษาไทยการทำความเข้าใจเรื่องชาติพันธุ์จำเป็นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับเรื่องเชื้อชาติและสัญชาติ อาจเปรียบเทียบ เชื้อชาติ สัญชาติ และชาติพันธุ์ได้ดังนี้
          - เชื้อชาติ
          - สัญชาติ
          - ชาติพันธุ์

เชื้อชาติ 
          เชื้อชาติ (race) คือ ลักษณะทางชีวภาพของคน ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากลักษณะรูปพรรณ สีผิว เส้นผม และตา การแบ่งกลุ่ม เชื้อชาติ (racial group) มักแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ นิกรอยด์ (Negroid) มองโกลอยด์ (Mongoloid) และคอเคซอยด์ (Caucasoid) ในตอนหลังได้เพิ่มออสตราลอยด์ (Australoid) โพลินีเชียน (Polynesian) ฯลฯ อีกด้วย
          การแบ่งแยกกลุ่มคนตามลักษณะทางชีวภาพนี้ มีความสำคัญในสังคมที่สมาชิกในสังคมมาจากบรรพบุรุษที่ต่างกัน และมีสีผิวและรูปพรรณสัณฐานที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น ความแตกต่างระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำ ในสังคมที่มีกลุ่มคนที่มีลักษณะทางชีวภาพต่างกันและประวัติความเป็นมาตลอดจนบทบาทในสังคมต่างกัน ความแตกต่างทางชีวภาพอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันได้ แต่ในบางสังคม เช่น สังคมไทย ความแตกต่างทางชีวภาพไม่มีความหมายเท่าใดนัก

สัญชาติ 
          สัญชาติ (nationality) คือ การเป็นสมาชิกของประเทศใดประเทศหนึ่งตามกฎหมาย โดยที่ลักษณะทางชีวภาพและวัฒนธรรมอาจแตกต่างกันได้ การเป็นสมาชิกของประเทศย่อมหมายถึงการเป็นประชาชนของประเทศนั้น ผู้ที่อพยพมาจากที่อื่นเพื่อมาตั้งถิ่นฐานสามารถโอนสัญชาติมาได้ ผู้ที่เปลี่ยนสัญชาติ คือ ผู้ที่เปลี่ยนฐานะจากการเป็นประชาชนของประเทศหนึ่งมาเป็นประชาชนของอีกประเทศหนึ่ง
ชาติพันธุ์
          ชาติพันธุ์ (ethnicity หรือ ethnos) คือการมีวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาพูดเดียวกัน และเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน เช่น ไทย พม่า กะเหรี่ยง จีน ลาว เป็นต้น กลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มวัฒนธรรม มีลักษณะเด่นคือ เป็นกลุ่มคนที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน บรรพบุรุษในที่นี้หมายถึงบรรพบุรุษทางสายเลือด ซึ่งมีลักษณะทางชีวภาพและรูปพรรณ (เชื้อชาติ) เหมือนกัน รวมทั้งบรรพบุรุษทางวัฒนธรรมด้วย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันจะมีความรู้สึกผูกพันทางสายเลือด และทางวัฒนธรรมพร้อมๆ กันไปเป็นความรู้สึกผูกพันที่ช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์ของบุคคลและของชาติพันธุ์ และในขณะเดียวกันก็สามารถเร้าอารมณ์ความรู้สึกให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์นับถือศาสนาเดียวกัน ความรู้สึกผูกพันนี้อาจเรียกว่า "สำนึก" ทางชาติพันธุ์ หรือ
ชาติลักษณ์ (ethnic identity)
          พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาให้ความหมายชาติพันธุ์ (ethnos) ว่าหมายถึง "กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกัน และที่แสดงเอกลักษณ์ออกมา โดยการผูกพันลักษณาการของเชื้อชาติและสัญชาติเข้าด้วยกัน... ถ้าจะใช้ให้ถูกต้องจะมีความหมายเฉพาะใช้กับกลุ่มที่มีพันธะทางเชื้อชาติและทางวัฒนธรรม ประสานกันเข้าจนสมาชิกของกลุ่มเองไม่รู้สึกถึงพันธะของทั้งสองนี้ และคนภายนอกที่ไม่มีความเชี่ยวชาญจะไม่แลเห็นถึงความแตกต่างกัน" และพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาให้ความหมาย ชาติพันธุ์วิทยา (ethnology) ว่าหมายถึง "การพินิจศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมปัจจุบัน หรือวัฒนธรรมเดิมที่สูญหายไปของกลุ่มมนุษยชาติทั้งหลายในโลกชาติพันธุ์วิทยาอาจหมายถึงมานุษยวิทยาวัฒน-ธรรมก็ได้"
          การมองว่ากลุ่มชาติพันธุ์คือกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมร่วมกันนั้น อธิบายได้ว่า ในระยะแรกมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ มีลักษณะคล้ายครอบครัวขนาดใหญ่ เมื่อคนกลุ่มเล็กอาศัยอยู่ด้วยกัน ก็สามารถเข้าใจกันและประพฤติปฏิบัติต่อกันได้ โดยไม่มีความขัดแย้งเท่าใดนัก เมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น มีคนหลายครอบครัวอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน การดำเนินวิถีชีวิตอาจแตกต่างกันบ้าง ความคิดอาจไม่สอดคล้องกันและปัญหาเรื่องความขัดแย้งก็คงจะตามมา ฉะนั้นเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จำเป็นต้องมีระบบระเบียบมากขึ้นต้องมีการตกลงกันว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ ข้อตกลงเกี่ยวกับวิถีชีวิตการประพฤติปฏิบัติ และความคิดความเชื่อ จึงเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์และเรียกรวมๆ ว่า "วัฒนธรรม" กลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมร่วมกันเรียกว่าเป็นคนชาติพันธุ์เดียวกัน
          วัฒนธรรม คือ ระบบสัญลักษณ์ซึ่งสมาชิกของสังคมตกลงกันว่าจะใช้ร่วมกัน ผู้ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันคือคนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน มีวัฒนธรรมร่วมกันและสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน การสืบทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ที่พ่อแม่อบรมสั่งสอนลูก ทำให้เกิดการสืบทอดชาติพันธุ์ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ วัฒนธรรมและสังคมจึงเป็นความสัมพันธ์ที่แยกออกจากกันยาก และเนื่องจากการสืบทอดทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์เป็นการสืบทอดทางชีวภาพหรือทางสายเลือดด้วยความแตกต่างระหว่างปัจจัยทางวัฒนธรรมและปัจจัยทางชีวภาพจึงแยกออกจากกันยาก และทำให้คนทั่วไปไม่คำนึงถึงข้อแตกต่างนี้ นอกจากนี้ เนื่องจากกลุ่มทางชีวภาพหรือกลุ่มเชื้อชาติครอบคลุมหลายกลุ่มชาติพันธุ์ความไม่ชัดเจนจึงอาจเกิดขึ้นได้
          บางครั้งคนไทยใช้คำว่า เชื้อชาติ ในภาษาพูดทั่วๆ ไปในความหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ว่า คือกลุ่มคนที่มีจุดกำเนิดของบรรพบุรุษร่วมกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน และพูดภาษาเดียวกัน ตลอดจนมีความรู้สึกในเผ่าพันธุ์เดียวกัน ตัวอย่างของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆ คือกลุ่มคนจีนกลุ่มคนไทย กลุ่มคนพม่า กลุ่มคนลาว กลุ่มคนเขมร กลุ่มคนกะเหรี่ยงกลุ่มคนอินเดีย กลุ่มคนม้ง ปัจจัยสำคัญในการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์คือ ความสำนึกของคนในกลุ่มนั้นว่ามีชาติพันธุ์ใด ปัจจัยทางด้านภาษาอย่างเดียวไม่สามารถกำหนดชาติพันธุ์ได้ ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดที่สำคัญกว่า ทั้งนี้เพราะคนจีน หรือคนอินเดีย หรือคนกะเหรี่ยง มีจิตสำนึกในความเป็นคนจีน หรือความเป็นคนอินเดีย หรือความเป็นคนกะเหรี่ยง โดยคนทั้ง ๓ กลุ่มนี้ต่างรวมกันโดยเชื้อชาติ สัญชาติ และชาติพันธุ์ แล้วก็มีภาษาพูดหลายภาษา คนจีนที่พูดภาษาไหหลำ กวางตุ้งและฮกเกี้ยน ต่างก็เรียกตัวเองว่าเป็นคนจีน คนอินเดียที่พูดภาษาฮินดีเบงกาลี และทมิฬ ต่างก็เรียกตัวเองว่าเป็นคนอินเดีย และคนกะเหรี่ยงไม่ว่าจะเป็นเผ่าโปว์หรือเผ่าสะกอ ต่างก็เรียกตัวเองว่าเป็นคนกะเหรี่ยง ฉะนั้น การจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์จึงขึ้นอยู่กับความสำนึกของตัวเองว่าเป็นคนกลุ่มใด
          นอกจากนี้ คนบางคนยังไม่อาจจะยึดในกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ตลอดไป เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมหนึ่งก็มีความสำนึกอย่างหนึ่ง เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปก็มีความสำนึกอีกอย่างหนึ่งเช่น คนจีนที่เกิดในประเทศไทย และเรียนที่โรงเรียนคนไทย เมื่ออยู่ในหมู่เพื่อนที่โรงเรียนก็มักจะมองว่าตัวเองเป็นคนไทย แต่เมื่อกลับบ้านไปอยู่ในหมู่ญาติพี่น้องซึ่งพูดภาษาจีน ก็จะมองว่าตัวเองเป็นคนจีน ชาวเขาเผ่าต่างๆ ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน เขาอาจจะมองว่าตัวเองเป็นชาวเขา หรือ "คนเมือง" (คนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่พื้นราบในภาคเหนือ) หรือคนไทยก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม คนเชื้อสายกุยในประเทศไทยอาจจะเป็นคนกุย คนอีสาน หรือคนไทยก็ได้เช่นเดียวกัน
          การที่คนๆ เดียวมีความรู้สึกว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด และไม่ใช่เรื่องที่ผิดหรือถูก แต่เป็นการแสดงให้เห็นว่า ความสำนึกในเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้และไม่ถาวร เมื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีความสำนึกในกลุ่มชาติพันธุ์อย่างชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง คนกลุ่มนั้นก็มักจะเป็นคนที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เชื้อชาติชาติพันธุ์ และสัญชาติ สอดคล้องกัน

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

น้ำตกไนแองการ่า

ไนแองการ่า
เมื่อพูดถึงน้ำตกที่โรแมนติกที่สุดหลายคนจะนึกถึงน้ำตกไนแอการา คู่รักหลายคู่เลือกที่ไปฮันนีมูนกันที่นี่ น้ำตกไนแอการาเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ตรงพรมแดนระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา สาเหตุที่มีขนาดใหญ่เพราะจริง ๆ แล้วน้ำตกไนแอการาเกิดจากน้ำในทะเลสาบตกลงสู่อีกทะเลสาบหนึ่ง




น้ำตกไนแอการามีอาณาเขตติดต่อเชื่อมมลรัฐนิวยอร์ก ในประเทศสหรัฐอเมริกา กับมณฑลออนทาริโอ ประเทศแคนาดา แถวนั้นเป็นถิ่นที่มีทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่รวมกัน 5 แห่งที่มีชื่อเรียกรวมกันว่า Great Lakes คือทะเลสาบฮิวรอน (Huron) ออนทาริโอ (Ontario) มิชิแกน (Michigan) อีรี (Erie) และ ซุพีเรียร์ (Superior) (สมัยเด็ก ๆ อาจารย์ที่สอนสังคมศึกษาจะให้ท่องว่า HOMES ซึ่งเป็นอักษรนำของชื่อทะเลสาบทั้งห้า) น้ำตกไนแอการาคือรอยต่อระหว่างทะเลสาบอีรีกับทะเลสาบออนทาริโอ เนื่องจากระดับน้ำในทะเลสาบทั้งสองมีความแตกต่างกัน ตรงช่วงรอยต่อจึงเกิดเป็นน้ำตกที่มีปริมาณน้ำมากมายจนเกิดเป็นน้ำตกไนแอการา

ตำแหน่งที่เป็นดาวในรูปคือน้ำตกไนแอการา




น้ำตกไนแอการาประกอบด้วยสองน้ำตกใหญ่ คือน้ำตกอเมริกัน (American Fall) และน้ำตกแคนาดา (Canadian Fall) หรือน้ำตกเกือกม้า (Horseshoe Fall) น้ำตกทั้งสองถูกคั่นด้วยเกาะกลางชื่อว่า Goat Island



น้ำตกอเมริกันอยู่ในเขตประเทศสหรัฐอเมริกา มีความกว้างน้อยกว่า สูงน้อยกว่า กว้างเพียง 320 เมตร



ส่วนน้ำตกแคนาดาเป็นน้ำตกรูปเกือกม้า 2 ใน 3 ของน้ำตกอยู่ในเขตประเทศแคนาดา กว้างกว่า สูงกว่า และก็สวยกว่า กว้างถึง 790 เมตร



จริง ๆ แล้วน้ำที่ตกลงมาเป็นน้ำตกไนแอการา จะตกจากฝั่งอเมริกาไปยังฝั่งแคนาดา ฉะนั้นถ้าอยู่ฝั่งอเมริกาจะเห็นแต่ด้านหลังและด้านข้างของน้ำตก ถ้าอยากเห็นวิวเต็ม ๆ ต้องไปดูจากฝั่งแคนาดาย้อนกลับมา แต่สำหรับคนไทยต้องมีวีซ่าแคนาดาด้วยถึงจะข้ามไปชมความงามฝั่งโน้นได้ แต่ฝั่งอเมริกาก็พยายามหาวิธีในการชมความงามของน้ำตกโดยการสร้างหอคอยชะโงกออกไปจากฝั่ง หรือล่องเรือไปตามลำน้ำเพื่อไปใกล้น้ำตกทั้งสอง