วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชนเผ่ามอแกน

ชนเผ่ามอแกน

เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเกาะในบริเวณภาคใต้ของไทย มีรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ รวมทั้งค่านิยมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นของตนเอง ใช้ชีวิตเดินทางเคลื่อนย้ายถิ่น ทำมาหากินอยู่ในบริเวณเขตทะเลอันดามัน ชีวิตส่วนใหญ่ของชาวมอแกนอาศัยอยู่บนเรือที่พวกเขาเรียกว่า “ กำบาง ” หากินกับทะเล งมหอย ตกปลา จับปูและสัตว์ทะเลต่าง ๆ อาหารหลัก คือเผือกมัน มีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับฤดูกาลจากอิทธิพลของลมมรสุมในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ (เดือนพฤษภาคม-เดือนพฤศจิกายน) ซึ่งมีคลื่นลมจัด ชาวมอแกนจะอพยพขึ้นมาสร้างบ้านเรือนตามเกาะหรือบริเวณชายหาดที่มีอ่าวกำบังคลื่นลมเพื่อหลบลมพายุ



ชาวมอแกนยังคงหากินกับทะเลเหมือนเช่นบรรพบุรุษ และเนื่องจากชาวมอแกนเป็นคนกลุ่มน้อย เป็นคนไม่มีสัญชาติ และไม่มีเชื้อชาติ ชาวมอแกนไม่มีความรู้ ไม่ได้รับการศึกษาทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชาวมอแกนยังคงเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อยของประเทศไทย และเพื่อให้ชาวมอแกนมีความรู้ สามารถติดต่อสื่อสารกับคนไทยได้ อย่างถูกต้องและเข้าใจชาวมอแกนมีพิธีประจำปี คือ การฉลองเสาวิญญาณบรรพบุรุษ (เหนียะเอนหล่อโบง) มอแกนจะมารวมกันเพื่อบวงสรวงบูชาวิญญาณให้ปกป้องคุ้มครองพวกตน ในระหว่านั้นมอแกนจะหยุดพักการทำมาหากิน ในพิธีกรรม จะประกอบด้วยการเข้าทรงเสี่ยงทาย การเล่นดนตรี ร้องรำ ทำเพลง และมีการลอยกำบางจำลอง ถือว่าเป็นการลอยความทุกข์และโรคภัยไข้เจ็บให้พ้นจากครอบครัว จากชุมชน นอกจากนี้ มอแกนยังมีความเชื่อดั้งเดิมซึ่งเน้นวิญญาณนิยม เชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งรวมทั้งผีบรรพบุรุษและผีต่างๆ ในธรรมชาติ มีอำนาจในการให้เกิดผลร้ายผลดี ปกป้องคุ้มครองหรือทำให้เจ็บป่วยได้ ดังนั้นจึงต้องแก้ไขการเยียวยาด้วยการเข้าทรง และเซ่นไหว้ด้วยวิธีการต่าง ๆ มอแกนจะใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคด้วยในด้านของสังคมการครองเรือน ชายหญิงมอแกนมักจะแต่งงานอยู่กินตั้งแต่อายุยังน้อย ยึดประเพณีผัวเดียวเมียเดียว จะไม่เปลี่ยนคู่ครองนอกจากสามีหรืออภรรยาเสียชีวิตลง หรือมีปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจึงแยกจากกัน ลูก ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญในครอบครัว มอแกนแต่ละครอบครัวจะมีลูกประมาณ 2-5 คน เนื่องจากความห่างไกลจากการบริการพื้นฐานสาธารณสุขทำให้จำนวนประชากรมอแกนค่อนข้างจะคงที่



ชื่อมอแกนเป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า “ละมอ” และ “แกน” ซึ่งเป็นชื่อของน้องสาวของราชินีในตำนานเก่าแก่ของมอแกน น้องสาวคนนี้ไปแย่งคนรักของพี่สาว จึงถูกสาปแช่งให้ตนเองและพรรคพวกต้องมีชีวิตเร่ร่อน

มอแกน เป็นชาวเลกลุ่มหนึ่ง ที่รู้จักกันในนามยิปซีทะเล สืบเชื้อสายมาจากโปโตมาเลซึ่งร่อนเร่อยู่ในทะเลอันดามัน มากว่า 100 ปี อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะ และชายฝั่งทะเลตั้งแต่หมู่เกาะมะริดในเมียร์ม่า ลงไปทางใต้และทางตะวันออกในหมู่เกาะของทะเลซูลู ในประเทศฟิลิปินส์ รวมถึงชายฝั่งของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซียด้วย ในหมู่เกาะมะริดในเมียนมาร์ยังมีประชากรมอแกนอีกนับพัน พม่าเรียกมอแกนว่า ซลัง เซลัง หรือ ซาเลา (Selon) สันนิษฐานว่าคำนี้คงจะมาจากคำว่าฉลางหรือถลาง ซึ่งเป็นชื่อโบราณของภูเก็ต (Junk Selon) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชาวเลมาชุมนุมกันอยู่มากในสมัยก่อนอยู่ในทะเล ซึ่งเป็นตำนานเรื่องเล่าของชาวมอแกน





นักมานุษยวิทยา Jacques Ivanoff สันนิษฐานว่าชื่อมอแกนเป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า “ ละมอ ” ( ภาษามอแกน แปลว่า จม) และ “ แกน ” ซึ่งเป็นชื่อของน้องสาวของราชินีในตำนานเก่าแก่ของมอแกน คือว่าตำนานนี้ค่อนข้างยาว แต่สรุปได้ว่าน้องสาวคนนี้ไปแย่งคนรักของพี่สาว จึงถูกสาปแช่งให้ตนเองและพรรคพวกต้องมีชีวิตเร่ร่อนอยู่ในทะเล ถ้าอยากรู้รายละเอียด (อ่านเพิ่มเติมจากหนังสือประมวลตำนานมอแกน ชื่อ Rings of Coral )

มอแกน เป็นชาวเลกลุ่มหนึ่ง สืบเชื้อสายมาจากโปโตมาเลซึ่งร่อนเร่อยู่ในทะเลอันดามัน มากว่า 100 ปี อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะ และชายฝั่งทะเลตั้งแต่หมู่เกาะมะริดในเมียร์ม่า ลงไปทางใต้และทางตะวันออกในหมู่เกาะของทะเลซูลู ในประเทศฟิลิปินส์ รวมถึงชายฝั่งของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซียด้วย ในหมู่เกาะมะริดในเมียนมาร์ยังมีประชากรมอแกนอีกนับพัน พม่าเรียกมอแกนว่า ซลัง เซลัง หรือ ซาเลา (Selon) สันนิษฐานว่าคำนี้คงจะมาจากคำว่าฉลางหรือถลาง ซึ่งเป็นชื่อโบราณของภูเก็ต (Junk Selon) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชาวเลมาชุมนุมกันอยู่มากในสมัยก่อน มอแกนนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และวิญญาณต่างๆ ในธรรมชาติ รวมทั้งวิญญาณบรรพบุรุษที่มี “หล่อโบง” หรือเสาวิญญาณบรรพบุรุษ ทั้งชาย (แอบ๊าบ) และหญิง (เอบูม) เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งมอแกนมีพิธีฉลองที่สำคัญประจำปีคือพิธี “เหนียะเอ็นหล่อโบง” หรือการฉลองเสาวิญญาณบรรพบุรุษ ซึ่งบางทีในพิธีนี้ก็มีการลอยเรือสะเดาะเคราะห์คล้ายๆ กับ อูรักลาโว้ยที่ภูเก็ต ลันตา หรือลิเป๊ะ ในขณะที่อูรักลาโว้ยเรียกเรือสะเดาะเคราะห์ว่า “ปลาจั๊ก” ชาวเลมอแกนเรียกเรือนี้ว่า “หล่าจัง” การลอยเรือมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน คือเพื่อนำเอาเคราะห์ร้าย โรคภัยไข้เจ็บ ความทุกข์โศกต่างๆ ออกไปจากชุมชน ส่วนพิธีฉลองเสาวิญญาณบรรพบุรุษของมอแกนนั้น จัดขึ้นในวันข้างขึ้น เดือนห้าทางจันทรคติ มอแกนจะไม่ออกไปทำมาหากินเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ในช่วงนั้น จะมีงานฉลอง ที่มีการดื่มกิน การเล่นดนตรีร่ายรำ การเข้าทรงทำนายโชคชะตาของหมู่บ้าน และมีญาติพี่น้องจากเกาะต่างๆ มาพบปะสังสรรค์กัน

อพยพเข้ามาเมืองไทยเมื่อไร

การอพยพเข้ามาประเทศไทยของชาวมอแกนไม่เป็นที่แน่ชัด เพราะการเข้ามีหลายกลุ่มและหลายช่วงเวลา จนกระทั้งปัจจุบันก็ยังมีการอพยพอยู่ อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ

มอแกนอาศัยอยู่ที่หมู่เกาะมะริดในเมียนมาร์ยังมีประชากรมอแกนอีกนับพัน พม่าเรียกมอแกนว่า ซลัง เซลัง หรือ ซาเลา ( Selon) สันนิษฐานว่าคำนี้คงจะมาจากคำว่าฉลางหรือถลาง ซึ่งเป็นชื่อโบราณของภูเก็ต ( Junk Selon) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีชาวเลมาชุมนุมกันอยู่มากในสมัยก่อน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น