วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ซาไก

ซาไก
                ซาไก (มาเลย์ : Orang Asli ; โอรังอัสลี) เป็นมนุษย์โบราณอาจจะที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ประมาณ 1,50010,000 ปีมาแล้ว รูปร่างเตี้ยมีผิวดำ ฝีปากหนา ท้องป่อง น่องสั้นเรียว ผมหยิกเป็นก้นหอยติดศีรษะ ชาติพันธุ์นิกรอยด์ หรือเนกริโต ตระกูลออสโตร-เอเชียติก อยู่กระจายกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ราว 7-60 คน ในรัฐเกดะห์ มาเลเซีย ในส่วนลึกของนิวกินี ฟิลิปปินส์และหมู่เกาะอันดามัน เรียกตนเองว่า มันนิ” (Mani) ส่วนผู้อื่นเรียกว่า เงาะ เงาะป่า ชาวป่า ซาแก หรือ โอรัง อัสลี (Orang Asli) หรือ กอย

สำหรับในภาคใต้ของประเทศไทยมีซาไกอยู่สี่กลุ่มรวมประมาณ 200 คน คือ
  1. ซาไกกันซิว อยู่ในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา
  2. ซาไกยะฮาย อยู่ในอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
  3. ซาไกแตะเดะหรือเยแด อยู่ บริเวณภูเขาสันกาลาคีรีแถบจังหวัดยะลาและอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
  4. ซาไกแต็นเอ็น อยู่บริเวณเขาบรรทัดแถบคลองตง คลองหินแดง บ้านเจ้าพะและถ้ำเขาเขียด อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง(ประมาณ 100 คน) จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสตูล

        ปัจจุบัน ซาไกที่อาศัยอยู่ที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ได้รับพระราชทานนามสกุลจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยใช้ชื่อสกุลว่า "ศรีธารโต"

การดำรงชีวิต

        กลุ่มชนชาวซาไกกินเผือกมัน กล้วยป่า มะละกอ และสัตว์ป่า จับสัตว์น้ำด้วยมือเปล่าหรือเบ็ด พืชผักผลไม้

วัฒนธรรมสมัยนิยม
  •  เงาะป่า บทพระราชนิพนธ์ร้อยกรองในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2448
  • เงาะป่า ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2523 ดัดแปลงมาจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ภาพยนตร์เรื่อง ซาไกยูไนเต็ด (พ.ศ. 2547) เป็นเรื่องราวของชาวซาไกเข้าแข่งขันและชนะเลิศฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน

ภาษาซาไก

        ภาษาซาไก (Kensiu) หรือภาษาเกนซีอู ภาษาโอรัง บูกิต ภาษาโมนิก ภาษาเมนดี มีผู้พูดทั้งหมด 3,300 คน พบในมาเลเซีย 3,000 คน (พ.ศ. 2527) ในบริเวณตอนเหนือของรัฐเกดะห์ใกล้กับชายแดนไทย พบในไทย 300 คน ทางใต้ของจังหวัดยะลา พัทลุง สตูล นราธิวาส ตามแนวชายแดนมาเลเซีย จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขาอัสเลียน สาขาย่อยอัสเลียนเหนือ
        มีคำยืมจากภาษามลายูปะปนอยู่มากเช่น ปะยง (พระจันทร์, ภาษามลายูหมายถึงร่ม) ตาโก๊ะ (เสือ, ภาษามลายูหมายถึงกลัว) ชาวซาไกที่ติดต่อกับคนไทยรับคำยืมจากภาษาไทยด้วยเช่นเดียวกัน ภาษาซาไกมีเสียงนาสิกแต่ไม่มีเสียงควบกล้ำและเสียงวรรณยุกต์ เป็นภาษาคำโดด มีลักษณะของภาษาคำติดต่ออยู่บ้างแต่ไม่มากนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น